TIMEFORFISH
บ้านเรา ความรู้น่าสนใจ ซื้อขายแลกเปลี่ยน กระดานสนทนา สินค้าของเรา ติดต่อเรา

 

โลกใต้น้ำของกุ้งสวยงาม PART II
By  Timeforest
มาติดตามกันต่อไปนะครับเกี่ยวกับกุ้งกลุ่ม Crayfish ที่เป็นที่นิยมเลี้ยงของนักเลี้ยงกุ้งสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง เรนโบว์  กุ้งฟ้า  กุ้งแดง กุ้งม้าลาย กุ้งสโนว์ กุ้งส้ม และอื่นๆ  แต่ขอเอ่ยเฉพาะที่พบกันบ่อยๆนะครับ 

กุ้งเรนโบว์/บูลล๊อบสเตอร์ (Cherax quadricarinatus)  เป็นกุ้งกลุ่มเครฟิช ในชุดแรกๆที่ผู้เลี้ยงกุ้งสวยงามได้รู้จักแรกเริ่มมีการนำเข้ามาเพื่อเลี้ยงเป็นกุ้งสวยงาม และต่อมามีภาคเอกชนและหน่วยราชการพยายามพัฒนาการเลี้ยงกุ้งชนิดนี้เพื่อนำมาเป็นอาหารในเชิงพาณิชย์ครับ กุ้งจะมีสีแดงอมน้ำเงิน สามารถโตได้ขนาดยาวกว่า 8 นิ้ว ในกุ้งตัวผู้ที่ก้ามจะมีสีแดงครับ ส่วนตัวเมียจะไม่มีสีแดงที่ปลายก้าม  กุ้งชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจาก ทวีป ออสเตรเลีย กุ้งเรนโบว์บางส่วนที่มีสีน้ำเงินเข้มก็จะมีการนำมาขายเป็นกุ้ง บูลล๊อบสเตอร์ ครับ  

 รูปกุ้งบูลล๊อบสเตอร์ www.geocities.com/Athens/Delphi/2970/crayfish.jpg         
  http://www.tradenote.net                                                        

  

กุ้งม้าลาย (Cherax sp. ) "zebra" เป็นกุ้งสวยงามอีกชนิดที่นิยมเลี้ยงครับ เดิมอาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะปาปัวนิวกีนี เป็นกุ้งที่ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงร่วมกับกุ้งชนิดอื่นๆได้ ขนาดโดยทั่วไปที่พบประมาณ 12 cm บางครั้งเรียกว่ากุ้งเสือ


รูปกุ้งม้าลาย   http://www.shrimpnow.com

 

กุ้งสี (Procambarus clarkii) เป็นกุ้งกลุ่มเครฟิชที่มีการพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ที่มีสีสันแตกต่างกันออกไป เช่น กุ้งแดง / กุ้ง สโนว์ (กุ้งขาว)/กุ้ง ไบรท์ออเรนจ์     กุ้งชนิดนี้เดิม พบในสหรัฐอเมริกา  แต่ต่อมามีการแพร่ไปยังทวีปอื่นๆโดยการนำเข้าไปเลี้ยงเป็นกุ้งสวยงามร่วมไปถึงการพัฒนาการเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารในเชิงพาณิชย์ (กุ้งที่คนอเมริกันนำไปรับประทานกันจะมีสีแดงครับ)รวมไปถึงมีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลาย ในรัฐหลุยเซียน่า ขนาดทั่วไปที่พบ 5-12 cm. อายุเฉลี่ย 5-6 ปีครับ (สีส้มกับขาวจะมีราคาสูงส่วนสีแดงจะมีราคารองลงมาครับ)
 

 กุ้งแดง http://en.wikipedia.org/wiki/Procambarus_clarkii

กุ้งสโนว์  www.u2u.idv.tw     

กุ้งส้มไบรท์ออเรนจ์     http://www.schoeppl.info                                                  

                                                                                                                                                                                  


กุ้ง ล๊อบสเตอร์ดำ (Cherax preissii) Black Lobster เครฟิชตัวใหม่ที่นำเข้ามาให้ผู้เลี้ยงชาวไทยได้สัมผัสกันไม่นานมานี้เอง  แหล่งอาศัยเดิมอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย  ขนาดที่พบทั่วไปประมาณ 20 cm. ชอบน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำเล็กน้อย(12-22 องศาเซลเซียส)  ราคาค่าตัวสูงพอประมาณ ในการเลี้ยงถือว่ายากพอควรครับ ใครที่สนใจเลี้ยงควรมีความพร้อมด้านอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้น้ำมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับกุ้งด้วยครับ
 
www.koonac.blue-marron.com                                            www.pantown.com        

 

กุ้งแอพพลิคอต (Cherax holthuisi)  Apricot Crayfish เป็นกุ้งสีส้มจี๊ดจ๊าดอีกตัวหนึ่ง  มีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณหมู่เกาะปาปัวนิวกินี  ขนาดทั่วไปที่พบ 15 -20 cm. ชอบน้ำที่เป็นกรดอ่อน ถึง น้ำกระด้างเล็กน้อย (pH 6.5-7.5) อาหารที่เลี้ยงสามารถกินได้ทั้งของสดและอาหารกุ้งสวยงามทั่วไปได้ดีครับ ระดับความยากในการเลี้ยงถือว่าปานกลาง ส่วนราคาค่าตัวถือว่าสูงพอควรครับผม
 
http://www.crayfishworld.com                                                                        http://www.aquarienkrebse.de/holtuisi.jpg

    

ความจริงแล้วยังมีอีกหลายชนิดที่น่าสนใจที่จะนำมาลงให้ผู้อ่านได้ศึกษากันแต่เนื่องด้วยความจำกัดของข้อมูลน่ะครับ จึงจำเป็นที่จะต้องตัดบางชนิดออกไป เช่น กุ้งโอเชียนบูล / กุ้งบูลสปอต /กุ้งนิวเรด/กุ้งอีเรียนจายา  ซึ่งหาท่านผู้อ่านท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมนอกจากนี้สามารถเข้าไปหาข้อมูลได้ใน www.clubaquaplant.org ที่เป็นแหล่งหาความรู้ที่น่าสนใจสำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่เป็นอย่างมากครับ  เนื้อหาต่อไปหน้าจะเริ่มในส่วนของบรรดากุ้งแคระมาให้อ่านกันต่อครับ สวัสดี                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             

อ่านต่อ                                                              

 

webdesign in 20/11/2551 by Timeforest