TIMEFORFISH  
 

 

ปลาเสือตออินโด  WANTED
            By Timeforest
                         ฉบับนี้มาว่ากันด้วยเรื่องของปลาเสือตอนะครับ  แต่จะเฉพาะเจาะจงไปยังปลาเสือตอชนิดเดียวนั้นคือ ปลาเสือตออินโดนีเซีย   


ปลาเสือตออินโด ที่มีลายข้างหนึ่งเป็นลายเดี่ยวหรือลายใหญ่ ส่วนอีกด้านเป็นลายคู่

                           

ปลาเสือตออินโด ไม่ว่าจะเป็นลายใหญ่  ลายคู่  หรือลายแปลกต่างๆ  ล้วนมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ  Datnioides microlepis (เดิมชื่อนี้จะเป็นชื่อของปลาที่มาจากแหล่งน้ำในไทย เขมร เวียดนาม ลาว พม่า ปัจจุบันปลาจากแหล่งดังกล่าวได้ใช้ชื่อ Datnioides pulcher )ซึ่งจากการแยกชนิดและจำแนกปลาเสือตอในปัจจุบันทำให้สายพันธุ์ ของปลาเสือตอของไทยกับประเทศเพื่อนเป็นคนล่ะชนิดกับปลาที่มาจากอินโดนีเซีย  ลักษณะของปลาเสือตออินโด โดยส่วนมากที่ปรากฎจะเป็นปลาที่มีลักษณะเป็นลายคู่ แต่บางส่วนก็มีลักษณะเหมือนปลาลายใหญ่บ้านเรา  ต่างกันเพียงปลาลายใหญ่บ้านเราจะมี 6 ลาย แต่ปลาลายใหญ่อินโดจะมี 7 ลาย โดยลายที่ 5 จะแตกออกจากกันไม่ชนกัน ทำให้เกิดลายที่ 5/6/7 บริเวณข้อหาง  (โดยส่วนมากเป็นดังเช่นกล่าวแต่ก็น้อยมากที่ปลาอินโดจะมี 6 ลาย) 

                           

        ที่สำคัญอีกประการคือปลาสือตออินโดจะเป็นปลาที่สีสันค่อนข้างจะไม่นิ่ง คือสีจะเปรอะๆ ในบางครั้งและขึ้นอยู่กับการปรับตัวของปลาในตู้ด้วย   สุดท้าย ปลาเสือตออินโดเป็นปลาที่มีการผสมพันธุ์กันแล้วเกิดเป็นปลาที่มีลายแตกต่างประหลาดกันไปหลายแบบ อาทิเช่น ปลาเสือตอลายคู่ข้างใหญ่ข้าง หมายถึงข้างหนึ่งลายคู่อีกข้างเป็นลายใหญ่  บางตัวก็เป็นลายแซมด้านบนบ้างด้านล่างบ้าง  และจากข้อมูลที่ทราบมาทำให้รู้ว่าปลาเสือตออินโดเริ่มมีเข้ามาขายในไทยเมื่อ5-6 ปีก่อน ราคาช่วงแรกๆถูกกว่าปัจจุบันพอสมควร และในปีล่าสุดคือปีที่แล้วคาดว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัว


เสือตออินโดที่มีลายแปลกๆ  หรือนักเลี้ยงปลาเสือทั่วไปเรียกว่าปลาลายแซมหรือลายเสีย 

  


ภาพปลาเสือตอลายคู่ปกติครับ ให้สังเกตที่ข้อหางมีการรวมกันของลายที่5กับ6ครับแต่ไม่สมบูรณ์ ส่วนอีกด้านก็เหมือนกับปลาเสือตออินโดทั่วไปที่ลายที่5กับ6แยกจากกันอย่างเห็นได้ชัดเจนครับ 

                                       
ที่สำคัญหากคิดแล้วประเทศอื่นๆก็ต่างนำเข้าปลาชนิดนี้เพื่อส่งออกไปขายยังประเทศที่มีความต้องการปลาชนิดนี้สูงเช่น ญี่ปุ่น  ยุโรป  อเมริกา  เป็นต้น  โดยที่ปัจจุบันความชัดเจนของการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เกิด ดังนั้นลูกพันธุ์ทั้งหมดที่ได้มาล้วนมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น  และปีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปีที่บรรดาลูกพันธุ์ปลาเสือตออินโดจะถูกนำเข้ามายังประเทศไทยอีกครั้งและก็ไม่รู้ว่าจะมีการนำเข้ามามากมายเพียงใดแต่อย่างไรก็แล้ว

แต่ถึงแม้นว่าประเทศอินโดนีเซียจะกว้างใหญ่และคาดว่ามีแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำอีกมากแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวันสูญพันธุ์ดังนั้นหนทางที่ดีนั้นก็คือ การศึกษาเทคโนโลยีและเทคนิคด้านการเพาะพันธุ์ให้มากขึ้นรวมไปถึงการกำหนดฤดูการจับปลาให้มีการเว้นจากช่วงที่มันว่างไข่และเติบโตก็คาดว่าจะช่วย

ให้สามารถทำให้ปลาเสือตออินโดจะคงอยู่กับนักเลี้ยงปลาสวยงามไปอีกนานและจะไม่ซ้ำกับปลาเสือตอไทย/เขมร ที่เผชิญกับภาวะใกล้สูญพันธุ์เต็มที    

 

 

webdesign in 20/11/2551 by Timeforest