TIMEFORFISH
บ้านเรา ความรู้น่าสนใจ ซื้อขายแลกเปลี่ยน กระดานสนทนา สินค้าของเรา ติดต่อเรา

 

 

น้ำ

By Timeforest

น้ำ

                          น้ำเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำทั้งหลาย ดังนั้นหากคุณภาพน้ำมี
ปัญหาก็จะส่งผลต่อสัตว์น้ำทำให้สัตว์น้ำป่วยได้  ซึ่งสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับคุณภาพน้ำมีดังนี้ 


ปริมาณ อ๊อกซิเจนที่ละลายในน้ำ 

อ๊อกซิเจน


ปกติในน้ำจะมีอ๊อกซิเจนละลายอยู่ในปริมาณหนึ่งอยู่แล้ว 
แต่หากเมื่อเรานำสัตว์น้ำเข้ามาเลี้ยงในน้ำที่เตรียมไว้ สัตว์น้ำก็จะดูดซึมอ๊อก
ซิเจนไปใช้ในการดำรงชีวิต    ซึ่งหากปริมาตรน้ำมีมากพอก็ไม่จำเป็นที่จะใช้
เครื่องเติมอากาศช่วยเพราะอ๊อกซิเจนสามารถละลายเพิ่มลงไปในน้ำได้พอ
เพียงกับที่สัตว์น้ำนำไปใช้ครับ  แต่ทั้งนี้ต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าปริมาณอ๊อกซิ
เจนในน้ำในแต่ละระดับนั้นจะมีความเหมาะสมกับสัตว์น้ำแต่ละชนิดต่างกันไป
เช่นปลาช่อนต้องการปริมาณอ๊อกซิเจนต่ำกว่าปลาหางนกยูงและปลาหาง
นกยูงต้องการปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำต่ำกว่า ปลาทอง  ส่วนปลาทองก็ต้อง
การปริมาณอ๊อกซิเจนต่ำกว่า ปลาเสือตอ เป็นต้น   ซึ่งหากปลาชนิดใดมีความ
ต้องการปริมาณอ๊อกซิเจนต่ำก็จะสามารถเลี้ยงปลาชนิดนั้นได้มากขึ้นใน
ภาชนะนั้นๆครับ  แต่หากเราต้องการเลี้ยงปลาที่มีความต้องการปริมาณ
อ๊อกซิเจนสูง เราจำเป็นที่จะต้องจัดหาระบบการเติมอากาศลงไปในน้ำ
หรือระบบที่ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำ
ให้มากขึ้นและเพียงพอกับปริมาณสัตว์น้ำนั้นๆครับ   ข้อสังเกต เมื่อปริมาณ
อ๊อกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตตามปกติของสัตว์น้ำ สัตว์น้ำ
นั้นๆก็จะว่ายขึ้นมาฮุบอากาศบริเวณผิวน้ำบ่อยๆจนถึงตลอดเวลา ซึ่งหาก
จัดการแก้ไขไม่ทันก็อาจส่งผลให้สัตว์น้ำนั้นๆตายได้ครับ

ค่าความเป็นกรดด่าง

ระดับpH

ปริมาณความเป็นกรดหรือด่าง  (ค่า พีเอช  หรือ pH)
เป็นค่าที่บ่งบอกถึง   ปริมาณ  H+  และปริมาณ OH-
ที่ละลายอยู่ในน้ำว่ามีมาน้อยเพียงใด โดยค่า pH จะอยู่ระหว่าง 1 ถึง 14
 (หากpH เท่ากับ 7 คือเป็นกลาง  หากต่ำกว่า 7 แสดงว่ามีสภาพเป็นกรด 
หากสูงกว่า 7 แสดงว่าเป็นด่าง ครับ) ซึ่งในน้ำจืดปกติค่าpH จะอยู่ที่
ประมาณ 7.0 -7.5 ส่วนน้ำทะเลจะมีค่า pH สูงกว่าเนื่องจากมีประจุลบสูงกว่า
ในแหล่งน้ำจืดโดยมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ  7.8-8.3  ส่วนในน้ำบาดาลซึ่งผู้เลี้ยง
ปลาสวยงามบางส่วนใช้น้ำบาดาลนำมาเลี้ยงปลาสวยงามนั้นจะมีค่าpHสูงกว่า
ในน้ำทะเลเนื่องจากน้ำบาดาลจะมีปริมาณประจุลบจากคาบอเนตไอออนสูง
กว่าในน้ำทะเล  โดยค่าpHจะอยู่ประมาณ 8.0-9.0 ขึ้นอยู่กับแต่ล่ะแหล่งน้ำครับ 
 ค่า pH ส่งผลอย่างไรกับสัตว์น้ำ  ตอบได้ว่าค่าpH จะส่งผลต่อระบบการทำงาน
ในร่างกายของสัตว์น้ำ ซึ่งหากpHไม่เหมาะสม อันตรายที่เกิดขึ้นกับสัตว์น้ำหาก
ไม่มากก็ทำให้เติบโตช้าแคระแกรน   หากส่งผลมากก็อาจทำให้ตายได้อย่าง
เฉียบพลัน  และยิ่งน้ำที่มีสภาพเป็นกรดสูงยิ่งส่งผลต่อการละลายของโลหะหนัก
ให้มีมากขิ่งขึ้นยิ่งส่งผลต่อสัตว์น้ำมากขึ้น   แต่หากเป็นตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว
 ค่าpHระดับใดที่จะเหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำล่ะ   ตอบได้ว่าระดับ pH
ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำปกติทั่วไปให้ดำรงชีวิตได้อย่างปกติคือ ประมาณ
 7.5-8.3 ครับ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำปกติทั่วไปมากที่สุด
 แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ก็มีสัตว์น้ำบางชนิดที่ต้องการค่า pH ที่แตกต่างจากที่บอก
ไว้เช่น ปลาและสัตว์น้ำบริเวณป่าพรุ ซึ่งจะต้องการpHในระดับที่เป็นกรดอ่อนๆถึง
เป็นกรด ครับ  สรุปแล้ว หากเราเลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำทั่วไปก็ใช้น้ำที่มีระดับค่าpH
ที่ไม่แตกต่างจากสัตว์น้ำนั้นๆเคยอาศัยมากก่อนมากจนเกินไปก็จะดีที่สุดครับ 

 

ปริมาณของเสียที่ละลายในน้ำ 

ของเสีย

 


ปริมาณของเสียที่ละลายในน้ำ  มาจากไหนตอบได้ว่ามา
จากทั้งการขับถ่ายของสัตว์น้ำเอง  จากอาหารที่เหลือเน่าสลาย   จากพืชน้ำและ
แพลงค์ตอนพืชและแพลงค์ตอนสัตว์ที่ตายไป  โดยมากหากเป็นสารประกอบของ
ไนโตรเจนก็จะเปลี่ยนสภาพจากแอมโมเนียเป็นไนไตรท์เป็นไนเตรทเป็นไนโตรเจน
(พืชน้ำและแพลงค์ตอนพืชนำไปใช้เป็นอาหารต่อไป)  ซึ่งในแต่ล่ะสภาพที่เปลี่ยนไป
จะเกิดจากแบคทีเรียทั้งในกลุ่มบาซิลัสและกลุ่มไนโตรแบคเตอร์  ทั้งนี้หาก
การเปลี่ยนในแต่ล่ะขั้นจำเป็นที่จะต้องใช้อ๊อกซิเจนในการเปลี่ยนรูปของสาร
ประกอบไนโตรเจนด้วย  ดังนั้นหากปริมาณอ๊อกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่เพียงพอ
ต่อกระบวนการเปลี่ยนรูปของของเสียก็จะส่งผลให้เกิดสภาพน้ำเน่าเสียและ
สัตว์น้ำตายได้ โดยสาเหตุการตายของน้ำที่เน่าเสียไม่ได้เกิดจากปริมาณอ๊อก
ซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำไม่เพียงพอเท่านั้นแต่จุดสำคัญคือ ปริมาณไนไตรท์
รวมทั้ง แอมโมเนียม(NH3) ที่มีอยู่มากเกินในน้ำนั้นได้แพร่เข้าสู่ระบบเลือดของ
สัตว์น้ำทำให้ค่าpHในเลือดเปลี่ยนเป็นกรดและเป็นพิษต่อสัตว์น้ำทำให้ตายได้ 
ซึ่งหากจะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามให้อยู่อย่างปกติสุขแล้วควรระวังการให้อาหาร
ปริมาณมากเกินเป็นอันขาดครับ  เพราะส่งผลต่อการเน่าเสียของน้ำอย่าเฉียบ
พลัน  และหากไม่อยู่บ้านแนะนำว่าให้ซื้อเครื่องให้อาหารอัตโนมัติหรืองดให้
อาหารไปเลยก็จะดีกว่า เพราะปลาอดอาหารเป็นสิบวันยังไม่ตายนะครับ
แต่หากให้อาหารเหลือเผื่อไว้ล่ะก็แย่แน่ๆครับ
ข้อสังเกต   ไนไตรทและแอมโมเนียที่ปริมาณสูงเท่ากันจะเป็นพิษ
ต่อสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดสูงกว่า สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล ครับ    

 

อุณหภูมิน้ำ  

อุณหภูมิน้ำ


บ้านเราเป็นประเทศในเขตร้อนและปลาสวยงามส่วนมาก
ที่เลี้ยงก็อยู่ในพื้นที่เขตร้อนครับ ดังนั้นโดยทั่วไปจึงไม่มีปัญหาจากอุณหภูมิน้ำ
ที่ส่งผลต่อสัตว์น้ำในหน้าร้อน  แต่จะส่งผลต่อสัตว์น้ำอย่างมากเมื่อเข้าสู่หน้า
หนาวหรือเมื่อมีการเปลี่ยนอุณหภูมิน้ำอย่างรวดเร็วครับ(เช่นการเปลี่ยนน้ำแบบ
100% เป็นต้น)  ดั่งคำโบราณที่ว่า  “น้ำร้อนปลาเป็น  น้ำเย็นปลาตาย” (อุณหภูมิ
น้ำปกติทั่วไปในบ้านเราจะอยู่ที่ประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส)  อุณหภูมิน้ำ
ที่ต่ำส่งผลต่อการละลายของอ๊อกซิเจนทำให้อ๊อกซิเจนละลายได้ดียิ่งขึ้นแต่ก็
มีผลต่อสัตว์เลือดเย็นจำพวกปลาในเขตร้อนอย่างมาก   เนื่องจากปรับตัวไม่ทัน
ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำ จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
อาทิโรค จุดขาว(แพร่ระบาดได้ดีเมื่ออุณหภูมิต่ำ)  เป็นต้น   ดังนั้นทางที่ดีควร
หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำอย่างรวดเร็วต่อสัตว์น้ำจะดีที่สุดครับ
เพื่อป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้(เช่นปลาน๊อคน้ำตาย
เป็นต้น หรือกระเพาะลมบวม ) 

                                จากข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้เลี้ยงปลาและสัตว์
น้ำควรรู้เนื่องจากมีความสำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามเป็นอย่างยิ่งเพราะ
น้ำคือบ้านของสัตว์น้ำและเป็นชีวิตของเค้า หากน้ำไม่ดีก็เหมือนกับมนุษย์อย่าง
เราที่อยู่กับอากาศที่มีมลพิษ สุดท้ายก็ป่วยตาย  ดังนั้นหากเกิดสิ่งผิดปกติกับ
สัตว์น้ำของท่านให้ดูก่อนว่าเกิดจากน้ำหรือไม่

อ่านต่อ

 

webdesign in 20/11/2551 by Timeforest