หนอนแดงกับพาราสิต
ตอนแรกก็ไม่ได้ตั้งใจเขียนเรื่องนี้นะครับแต่สะดุดอยู่ที่ว่ากลุ่มผู้เลี้ยงบางส่วนมีคำถามเกี่ยวกับไอ้ตัวแดงๆที่อยู่ในตู้ปลาของท่านทั้งหลายว่ามันคือตัวอะไรและมันทำอันตรายต่อปลาสวยงามหรือสัตว์น้ำของท่านได้หรือไม่เราก็มาดูกันนะครับ
หนอนแดง
ลักษณะทั่วไป
หนอนแดงเป็นตัวอ่อน (Larvae) ของแมลงชนิดหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ริ้นน้ำ" (Midge) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chironomus sp. จัดอยู่ในวงศ์ Chironomidae อันดับ Diptera ซึ่งเป็นอันดับเดียวกับยุง และเพื่อเป็นการยืนยันว่าริ้นน้ำจืดเป็นแมลงจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ลักษณะของริ้นน้ำตัวเต็มวัย (Fldult) ของริ้นน้ำจืดมีรูปร่างคล้ายยุงตัวผู้มีหนวดงามแบบพู่บนนก (Plumose) ส่วนหัวเล็กชอบหดเข้าไปอยู่ในส่วนอก ตัวยาว 8-10 มิลลิเมตร มักอยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำและใกล้แสงสว่าง ตัวเมียชอบวางไข่ในน้ำที่ลมสงบเฉลี่ยตัวละ 2,300 ฟอง ไข่จะลอยเป็นแพบนผิวน้ำ มีลักษณะเป็นเส้นหรือแท่งมีวุ้นหุ้ม มองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นแท่งวุ้นที่มีจุดประสีดำ ๆ ไข่จะฟักเป็นตัวหนอนภายในเวลา 3-4 วัน ตัวหนอนจะมีสีแดงจึงเรียกว่า "หนอนแดง" ลำตัวยาว 3-18 มิลลิเมตร ส่วนหัวของหนอนแดงแบ่งแยกจากลำตัวเห็นได้ชัดมีตาเป็นจุดสีดำเล็ก 1 คู่ มีขนเล็ก ๆ สำหรับหน้าที่กวาดอาหารเข้าสู่ปาก มีฟันหรือกรามที่แข็งแรง ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารก่อนกลืนเข้าปาก อาหารของหนอนแดงคือ อินทรีย์วัตถุที่เน่าสลาย (Detritus) จนมีขนาดเล็กพอที่จะเข้าปากได้ ส่วนนอกจะขยายใหญ่มีอวัยวะหายใจยื่นยาวออกมาเป็นท่อเล็กๆ1 คู่ บางชนิด (species) จะมีลักษณะเป็นสายยาว ลำตัวแบ่งเป็น 12 ปล้อง 3 ปล้องแรกจะรวมกันเรียกว่า Cephalo-thorax ตัวอ่อนเมื่ออายุได้ 10-12 วัน จะสร้างปลอก (Tube) หุ้มตัวโดยใช้โคลนตาม และเศษอินทรีย์วัตถุที่เน่าสลายในน้ำปลอกนี้จะช่วยยึดส่วนอก และขาเทียม 2 คู่ ที่อยู่บริเวณท้องช่วยขึงลำตัว และป้องกันมิให้กระแสน้ำผ่านเข้าออก และเป็นทางรับปริมาณออกซิเจน หนอนแดงจะอาศัยอยู่ในปลอกนี้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ นาน 6-8 วัน ระยะนี้เรียกว่า ระยะก่อนเข้าดักแด้(Prepupa) เมื่อครบกำหนดหนอนแดงจะสลัดปลอกทิ้งเข้าสู่ระยะดักแด้ (Pupa) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับลูกน้ำยุงที่ชาวบ้านเรียกว่า "ไอ้โม่ง" แต่มีสีแดงคล้ำ หนอนแดงจะอยู่ในระยะนี้ประมาณ 1-2 วัน โดยจะชอบลอยตัวในแนวดิ่งตั้งฉากกับผิวน้ำหลังจากนั้นจึงลอกคราบเปลี่ยนเป็นตัวเต็มวัยที่เรียกว่า "รินน้ำจืด" วงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้จะนานประมาณ 21-28 วัน รินน้ำจืดในประเทศแถบร้อนจะมีวงจรชีวิตสั้นกว่ารินน้ำจืดในประเทศแถบหนาว
(ที่มาhttp://www.nicaonline.com/new-190.htm ,ผู้เรียบเรียง จำนง ถีราวุฒิ , บทความ “หนอนแดง” อ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ครับ)
พาราสิตกลุ่ม Nematode
กลุ่มพาราสิตที่มีลักษณะตัวกลม หัวท้ายเรียวยาว หากพบในสัตว์น้ำมักเป็นสาเหตุให้เกิดการตายเนื่องจากร่างกายของสัตว์ ถูกดูดสารอาหารไปเลี้ยงชีวิตให้กับพยาธิเหล่านี้ โดยมากหากพบไม่มากก็มักจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใดๆให้เห็น แต่เมื่อมีมากเกินไปจนสัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติก็จะทำให้สัตว์น้ำค่อยๆป่วยและตายไป หลังจากสัตว์น้ำตายไป nematode บางส่วนก็จะออกจากร่างกายของโฮสต์เพื่อไปหา โฮสต์ใหม่ต่อไป
ตามรูปได้มาจากเว็บไซด์ต่างประเทศ เนื่องจากเค้าพบไอ้ตัวนี้จากเต่าโดยเต่ามันอาเจียนออกมา หลังจากกินปลาหางนกยูงเข้าไป
ส่วนอีกรูปได้มาจากผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในเว็บ Pantip.com ที่เข้ามาถามเกี่ยวกับตัวแดงๆที่อยู่ในตู้
ข้อมูลที่ถามมามีดังนี้
เอารูปมาให้ดูค่ะ ช่วยดูหน่อยว่ามันคืออะไร เรียกว่าอะไรคะ เป็นอันตรายไหม
ข้อความจากกระทู้เก่า มันไม่มีภาพ
" สงสัยค่ะสงสัย ที่บ้านไม่ว่าจะเป็นบ่อ เป็นอ่าง เป็นตู้ เวลาล้างจะเห็นมีตัวสีแดงๆเล็กๆ ออกมามากมาย ตัวประมาณ 0.5 ซ.ม. คล้ายไส้เดือน หนอน พยาธิตัวลีบๆ ยึกยือๆ
1. มันคือะไร เป็นอันตรายต่อคนหรือสัตว์น้ำหรือไม่?
2. มีอยู่ครั้งนึงที่เราเอาเต่าญี่ปุ่นมาเลี้ยง ปรากฎว่ามาอยู่ได้ไม่กี่วันก็ทยอยตายกัน จนตัวสุดท้ายเอามาประคบประหงมใกล้ตัวจนมันสิ้นลมไป ก็เลยห่อมันไว้ในกระดาษทิชชู่ ปรากฎว่าไอ้ตัวอย่างว่า สีแดงๆ ค่อยๆคืบคลานออกมาจากทวารทั้ง 9 ของน้องเต่า โอววว น่ากลัวมาก .... มันคือตัวเดียวกันอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นอันพบได้เวลาล้างตู้แน่นอน มันคือะไร? แสดงว่ามันเป็นสาเหตุแห่งการตายใช่หรือไม่
3. มีหลายครั้งที่เอาปลาที่บ้านมาลงใหม่ ปลาทองบ้าง ปลาคาร์พบ้าง มันก้ค่อยๆทยอยตายเหมือนเดิม จนเดี๋ยวนี้ไม่กล้าเลี้ยงอะไร เพราะกลัวว่าจะเอามาตายที่บ้านอีก
มันคืออะไร ควรทำอย่างไรเพื่อให้สามารถเลี้ยงสัตว์น้ำต่อได้คะ กังวลมากเลย ขอความรู้ท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย "
|