แม่เพรียง หรือ เพรียงทราย อาหารแม่กุ้งกุลาดำ
ปัจจุบันอาหารที่เหล่าโรงเพาะฟักต่างนิยมให้แม่กุ้งของตนเองกินเพื่อเร่ง ให้มีการพัฒนารังไข่และไข่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุดในอดีตราคามีราคาสูงถึง กิโลล่ะ 500-700บาท
สัณฐานวิทยา (Morphology) polycheate Perineries nuntia (brevicirris)
รูปร่าง (Shape) ทรงกระบอก (Cylindrical)
ขนาด (Size) ที่ศึกษากว้าง 5 – 8 มิลลิเมตร
ลำตัว (Body) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วน หัว (head) และลำตัว (trunk)
Head
- ประกอบด้วย Prostomium และ Peristomium เห็นชัดเจน
- ที่ Prostomium มีหนวด (antenna) สั้น ๆ 1 คู่ อยู่ระหว่าง palp ปลายสุดของ palp มีลักษณะเป็นก้อนกลมเล็ก ๆ เรียกว่า palpostyle
- ที่ฐานของ peristomium ประกอบด้วย tentacular cirri 4 คู่ โดย 2 คู่ทางด้านบนจะยาวกว่า 2 คู่ทางด้านล่างและเส้นที่ยาวที่สุดจะนาวถึงลำตัวปล้องที่ 5 – 7
Trunk
- แบ่งเป็นปล้องแต่ละปล้องมี parapodia 1 คู่
- จะเริ่มน้ำตั้งแต่ปล้องที่มี parapodia ยื่นออกมา
- parapodia ของปล้องที่ 1 และ 2 เป็นแบบ Uniramous โดยที่ notopodia จะมีเพียง lobe เดียวและตั้งแต่ปล้องที่ 3 เป็นต้นไป notopodia จะเป็นแบบ biramous
Parapodia ประกอบด้วย setae 3 ชนิด คือ
- Homogomph spiniger
- Heterogomph spiniger
- Heterogomph faliciger
ปล้องสุดท้ายของลำตัวเรียก pygidium มี anal cirri 1 คู่ และช่องเปิดของ anus ด้วย
จากการศึกษาบริเวณชายหาดในจังหวัดชลบุรีหลายจุด โดยเริ่มตั้งแต่อ่างศิลา แหลมแท่น
บางแสน ศรีราชา หาดวอนนภา ศรีราชา แหลมฉบัง บ้านโรงโป๊ะ นาเกลือ สัตหีบ พบว่าบริเวณหาดทรายละเอียดและหาดทรายหยาบ มีก้อนกรวดลักษณะกลมถ่ายเทน้ำได้ดีมาก เช่น แหลมฉบัง บางแสน
อ่างศิลา แหลมแท่น หาดลักษณะนี้เกือบจะไม่พบแม่เพรียง หรือไส้เดือนทะเลเลย บริเวณที่พบไส้เดือนทะเลเป็นจำนวนมากจะเป็นหาดทรายที่ค่อนข้างหยาบสะอ่าน อุ้มน้ำได้ดี เช่น บริเวณหาดบ้านโรงโป๊ะในอำเภอบางละมุง หาดดังกล่าวมีความกว้างขอหาดประมาณ 11 เมตร ค่อนข้างชันขณะที่น้ำขึ้นสูงสุดน้ำจะท่วมถึงส่วนบนสุดของหาด เหนือหาดขึ้นไปจะเป็นบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของชาวประมง ซึ่งมีอาชีพทำการประมงอวนปู บางรายมีอาชีพในการแกะเนื้อปูม้าขายทำให้บริเวณนี้มีอาหารอุดมสมบูรณ์จากลักษณะของหาดทรายและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้บริเวณนี้มีแม่เพรียงหรือไส้เดือนทะเลหนาแน่นกว่าที่อื่น ๆ
Nutrition (การกินอาหาร)
แม่เพรียงชนิดนี้เป็นพวก omnivorous โดยเฉพาะอาหารที่มีกลิ่นคาว จากการศึกษาทั้งที่เลี้ยงไว้และสังเกตจากที่อยู่ในธรรมชาติพบว่า เวลากินอาหารแม่เพรียงจะยื่น proboscis ออกมาและใช้ส่วนที่เป็นขากรรไกร (jaw) จับดึงอาหารลงไปในทรายถ้าอาหารเป็นชิ้นใหญ่จะกัดแทะลงไปทีละน้อย
Reproduction (การสืบพันธุ์)
- แม่เพรียงเป็น Dioecious จากการศึกษาตัวอย่างที่เลี้ยงไว้พบว่าขณะที่ยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ (mature) จะไม่สามารถแยกความแตกต่างของทั้ง 2 เพศได้ แต่พอถึงระยะที่ใกล้จะถึงวัยเจริญพันธุ์ตามตัวจะมีเมือกซึ่งมีลักษณะเหมือนเส้นไหมจับหุ้มอยู่ และถ้าสังเกตให้ละเอียดจะพบไข่ในช่องตัวได้ซึ่งไข่ในขณะนี้มีสีขาวนวลคล้ายสีของลำตัว ขณะที่แม่เพรียงพัฒนาเข้าสู่ระยะเจริญพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและสีของลำตัว โดยในเพศผู้ parapodia จากปล้องที่ 1 – 30 จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและตั้งแต่ปล้องที่ 31 ถึงปล้องสุดท้ายจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ในการว่ายน้ำสำหรับในเพศเมีย parapodia จะเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปล้องที่ 28 เป็นต้นไป นอกจากนี้ทั้งตัวผู้และตัวเมียตาจะมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้ง 2 คู่ สีของไข่จะเป็นสีฟ้าทำให้เห็นลำตัวของตัวเมียเป็นสีเขียวคล้ำในตัวผู้สีของลำตัวเป็นสำน้ำนม parapodia จะเป็ นสีแดงเข้มเมื่อทั้งสองเพศเจริญถึงระยะที่จะทำการผสมพันธุ์ได้แล้ว มันจะว่ายขึ้นมาบนผิวน้ำมีการผสมพันธุ์แบบ external fertillzation หลังจากนั้นทั้งคู่ก็จะตายไป
-
จากการศึกษาพบว่าแม่เพรียงสามารถที่จะทำการผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี
-
ไข่เมื่อได้รับการผสมพันธุ์จะเจริญเป็นตัวอ่อนเรียกว่า trochophore larva มีรูปร่างคล้ายลูกข้างมีขนอยู่รอบ 2 วง ๆ ที่ 1 อยู่บริเวณกึ่งกลางลำตัวเรียกว่า tuft
-
ขั้นตอนการเจริญเติบโตของ polychaete ระยะแรก (trochophore larva) ลำตัวของตัวอ่อนจะยืดยาวออกเรียกว่า polytroch larva ส่วนที่อยู่เหนือวงขน (prototroch) จะเจริญเป็น prostomium และบริเวณรอบ ๆ prototroch จะเจริญเป็น peristomium ส่วนที่อยู่ต่ำจาก protorch จะแบ่งเป็นปล้อง apical tuft จะเจริญเป็น cerebral ganglion และในระยะนี้ตัวอ่อนจะเริ่มจมลงสู่พื้นเพื่อดำรงชีวิตแบบคืบคลานกับพื้นต่อไป
การศึกษาการงอกใหม่ของอวัยวะ (Regenerate)
พบว่าชิ้นส่วนของแม่เพรียงที่ขาดจากกัน อาจแบ่งได้ 2 ส่วน คือ
- ส่วนช่วงหัวขึ้นไป
- ส่วนท้ายหรือช่วงท่อนล่างส่วนหาง
จากการศึกษาและทดลอง
ส่วนช่วงหัวที่เลี้ยงไว้สามรถงอกหางใหม่ได้ภายในเวลา 4 – 5 วัน เมื่อมีการขาดหรือหลุด แต่ส่วนท้ายจะไม่สามารถงอกได้และจะเน่าตายภายใน 2 – 3 วัน ดังนั้นการงอกใหม่จึงมีส่วนช่วยแม่เพรียงที่มีการแตกหรือตัดชิ้นส่วนของตัวมันเพื่อความอยู่รอด และช่วยในแม่เพรียงที่บอบช้ำจากการจับ หลังจากปล้องที่บอบช้ำหลุดแม่เพรียงก็จะมีการงอกใหม่ (เว้นแต่การบอบช้ำที่ส่วนหัว ซึ่งจะตายภายใน 2 – 4 วัน)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธเนศ อภิรักษ์ขจรเดช,"การศึกษาชีววิทยาบางประการและพฤติกรรมของแม่เพรียง Perinereis nuntia (brevicirris)",2543
ลัดดา วงศ์รัตน์ ,2541. แพลงค์ตอนสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 787 หน้า
อนงค์ สวรรยาธิปัติ และ ปิยะพงษ์ โชติพันธ์ , การศึกษาลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมทางชีววิทยาของแม่เพรียงบริเวณชายทะเล จ. ชลบุรี. 12 หน้า
Hutchings P.A.,1983.Proceeding of the first International polychaete conference.The Linnean Society of New South Wales. 483 p.
Fauchald kristian ,1997. The polychaete waorms Definitions to the Order Families and Genera.
Chapman’s Phototypesetting. 188 p.
อ่านเอกสารการทดลองการเลี้ยง ต้นฉบับ
|