TIMEFORFISH
บ้านเรา ความรู้น่าสนใจ ซื้อขายแลกเปลี่ยน กระดานสนทนา สินค้าของเรา ติดต่อเรา

 

โรคที่เกิดจากแบคทีเรียและการรักษา

ป่วยจากติดเชื้อแบคทีเรีย 
แบคทีเรีย เป็นจุลชีพที่เป็นสาเหตุส่วนมากในการเจ็บป่วยของสัตว์น้ำ  ซึ่งอาการที่เกิดจากการติด                                           เชื้อแบคทีเรีย สังเกตได้จากภายนอก เช่น  ตัวและครีบเปื่อย  ตามตัวมีจ้ำเลือดหรือรอยช้ำ  มี ลักษณะขุ่นมัวของดวงตา  ตาบวม  ช่องท้องบวมเป็นต้น  อาการเรืองแสง(ส่วนใหญ่พบในสัตว์น้ำเค็ม)   ซึ่งชนิดของแบคทีเรียก็มีหลายชนิดทั้งแกรมบวกและแกรมลบ 
การรักษา 
กรณีติดเชื้อแบคทีเรีย  สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ  ดังต่อไปนี้

                                                ในสัตว์น้ำที่นำมาบริโภค  ให้ใช้  อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน 30 มิลลิกรัม/ลิตร โดยละลายในน้ำที่เลี้ยงรวมถึง  สามารถนำมาผสมให้ในอาหารที่สัตว์น้ำกิน  เช่น แช่ยากับอาหารเม็ดที่สัตว์น้ำกินก่อนให้(3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม) ประมาณ 5 นาที  (หากจะนำมาบริโภคต้องงดยาอย่างน้อย 25 วันจึงจะปลอดภัยครับ)
ส่วนในการรักษาสัตว์น้ำที่เลี้ยงเพื่อความสวยงาม สามารถใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับคนได้เพื่อบรรเทาและรักษาโรค  ดังต่อไปนี้ 
เตตร้าไซคลิน      15 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร
แอมม๊อคซี่ซิลลิน  20 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร
คลอเตตร้าไซคลิน  15 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร
อ๊อกโซลินิคแอซิด   2 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร
นาลิดิซิกแอซิด       10 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร

                        ปริมาณอาจปรับลดหรือเพิ่มได้นิดหน่อย แต่ที่สำคัญควรจะใช้ยาอย่างต่อเนื่อง  โดยการใช้ยารักษาให้ใช้ต่อเนื่องกันไปไม่ต่ำกว่า 15 วัน  เพื่อไม่ให้เชื้อดื้อยา และห้ามใส่ยาเพื่อการป้องกันโรคเนื่องจากทำให้เชื้อดื้อยาได้ครับ(ใช้ยา 5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 3 วัน โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกครั้งที่ใส่ยาใหม่ 50-70 %)               

โรคแบคทีเรียที่มักพบในสัตว์น้ำ 

โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ไต    (Bacterial kidney disease) (BKD)
จากการติดเชื้อ  Renibacterium salmoninarum
โรค BKD
อาการของโรค   ปลามีอาการเบื่ออาหาร  ช่วงท้องมีลักษณะบวมโต  การแพร่ระบาดของโรค สามารถแพร่จากปลาไปสู่ปลาได้โดยตรง  สามารถแพร่เชื้อผ่านเซลล์สืบพันธุ์(ไข่หรือสเปิร์ม)  ต่างประเทศสามารถสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนเป็นอย่างมาก
การรักษาในปลาสวยงาม    เลือกใช้ยาในกลุ่ม  
คลอแรมฟินิคอล (250 มิลลิกรัม/20 ลิตร.)  ใส่ในน้ำการใส่ยารักษา ใส่ติดต่อกันนาน ไม่ต่ำกว่า 10 วันโดยเปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %
ซัลฟิโซนาโซล (200 มกต่อน้ำหนักปลา 1 กิโล ต่อวัน ให้โดยการกิน หรือฉีดเข้าทางปากไปยัง กระเพาะอาหารโดยตรง)  
อิริโทรมัยซิน (50-100 มกต่อน้ำหนักปลา 1 กิโล ต่อวัน ให้โดยการกิน หรือฉีดเข้าทางปากไปยัง กระเพาะอาหารโดยตรง)    

 

 

โรคคอลั่มนาริส  (Columnaris)
จากการติดเชื้อ แบคทีเรีย  Flexibactor columnaris(มักพบในการติดเชื้อของปลากัด)   Chondrococus columnaris (มักพบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในปลาแฟนซีคาร์พ)
โรคคอลั่มนาริสโรคคอลั่มนาริสโรคคอลั่มนาริส
อาการของโรค   พบว่าตามเกล็ดของปลาและสัตว์น้ำมีลักษณะคล้ายๆเมือกขุ่นๆปกคลุมอยู่  รวมทั้งบางส่วนมีการอักเสบของผิวหนังภายใต้เกล็ดให้เห็น  หากมองผิวเผินอาจคิดว่าติดโรคเชื้อรา แต่จริงๆเป็นแบคทีเรียครับ(ในปลากัดพบมากเมื่อคุณภาพน้ำไม่เหมาะสม )  ส่วนอีกชนิดที่มักพบติดเชื้อในปลาแฟนซีคาร์พและปลาทอง จะมีอาการของโรคที่มักพบร่วมกับโรคตกเลือด  (septicaemia)   โดยมักเป็นโรคตกเลือดก่อนแล้วตามด้วย โรคคอลั่มนาริสซ้ำเติมอีกครั้ง 
การรักษาในปลาสวยงาม
เตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร.), อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน การใช้ยาในกลุ่มเตตร้าอย่าใส่เกลือร่วมเนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลงครับ 

 

โรค เอ็ดเวิร์ด (Edwardsiellosis) 
จากการติดเชื้อแบคทีเรีย  Edwardsiella tarda(พบว่าเป็นสาเหตุของโรคในปลาหลายชนิดทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม) เป็นแกรม ลบ
edwardedwardedward
อาการของโรค  พบว่ามีเลือดออกตามครีบ  พบว่ามีอาการเลนส์ตาขุ่นมัว ( lens opacities) ตาโปน (exophthalmia หรือ pop-eye )  หากมีการติดเชื้อภายในลำไส้สามารถทำให้เกิดอาการลำไส้ไหล (prolapsed rectum)   เชื้อโรคมักอาศัย อยู่บริเวณ ตับ ม้าม ของปลา
การรักษาโรคในปลาสวยงาม 
อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %
เอนโรฟล๊อกซาซิน  100 มก./น้ำ 5 ลิตร แบบแช่  หาก ใส่ให้กินในอาหาร ใช้ตัวยา 10 มก/น้ำหนักปลา 1 กก ให้กินติดต่อกัน  5 วัน วันล่ะครั้ง

 

โรคปากแดงช้ำเลือด  Enteric redmouth หรือ ERM
จากการติดเชื้อแบคทีเรีย    Yersinia ruckerii แกรมลบ
โรคปากช้ำเลือดโรคปากช้ำเลือด
อาการของโรค  มีอาการปากช้ำเลือดที่ขอบและช่องปากของปลา  ภายใน พบการฝังตัวของเชื้อ ภายในตับและม้ามของสัตว์น้ำ 
การรักษาโรคในปลาสวยงาม
คลอแรมฟินิคอล (250 มิลลิกรัม/20 ลิตร.)  ใส่ในน้ำการใส่ยารักษา ใส่ติดต่อกันนาน ไม่ต่ำกว่า 10 วันโดยเปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 % 
อ๊อกโซซิลิคแอซิด ให้กิน 5 มก.ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ต่อวัน ให้ติดต่อกัน 10 วัน หรือ ใส่ในน้ำอัตราส่วน 1 มกต่อน้ำ 1 ลิตร ติดต่อกันนาน 7 วัน โดยเปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 % 
อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %
ซัลฟาเมอราซิน      200 มกต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ติดต่อกันนาน 10 วัน

 

โรคช้ำเลือดภายใน ( Enteric septicaemia)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  Edwardsiella ictaluri (แกรมลบ)
escescesc
อาการของโรค  อาการที่พบภายนอก  บริเวณหัวของปลาพบแผลยุบเป็นหลุมลงมีเลือดออก ตามตัวพบจุดแดงขนาด 2-3 มม. มีเลือดออกตามฐานครีบ  พบจุดขาวกระจายอยู่ตามตัวของปลา  ลักษณะภายใน ตับมีสีซีดขาว
การรักษาโรคในปลาสวยงาม
อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %ยาในกลุ่มเตตร้าอย่าใส่เกลือร่วมเนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลงครับ 

 

โรคครีบเปื่อย (Fin rot)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย   ในกลุ่มแกรมลบ เช่น Aeromonas , Psuedomonas, or Vibrio
finrotfinrot
อาการของโรค  พบว่ามีการกร่อนของครีบ และบางส่วนของครีบจะเปื่อย 
การรักษาโรคในปลาสวยงาม
คลอแรมฟินิคอล (250 มิลลิกรัม/20 ลิตร.)  ใส่ในน้ำการใส่ยารักษา ใส่ติดต่อกันนาน ไม่ต่ำกว่า 10 วันโดยเปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 % 
อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %ยาในกลุ่มเตตร้าอย่าใส่เกลือร่วมเนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลงครับ 

โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่เหงือก (Gill disease) 
เกิดจากการ  ติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเหงือก  (จริงๆมีสาเหตุอื่นอีก เช่น จากการติดเชื้อรา  และบางครั้งอาจเกิดจาก พาราสิต)
gilldiseasegilldiseasegilldisease
อาการของโรค   เหงือกมีสีซีดลง ปลาหรือสัตว์น้ำมีอาการหายใจถี่ๆ เนื่องจากเหงือกทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดีพอ ปลาหรือสัตว์น้ำไม่กินอาหาร
การรักษาโรคในปลาสวยงาม
อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %ยาในกลุ่มเตตร้าอย่าใส่เกลือร่วมเนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลงครับ 

 

โรคช้ำเลือด  (Haemorrhagic septicaemia)
เกิดจากการติดเชื้อ    Pasteurella multocida ,    P. haemolytica(แกรมลบ)
โรคช้ำเลือด
อาการของโรค  ลักษณะภายนอกปลามีลักษณะเหมือนมีเลือดออกตาม ตัว ครีบ  ก้านครีบต่างๆ  หากมีอาการหนักมากจะซึม และอาจตายได้
การรักษาโรคในปลาสวยงาม
คลอแรมฟินิคอล (250 มิลลิกรัม/20 ลิตร.)  ใส่ในน้ำการใส่ยารักษา ใส่ติดต่อกันนาน ไม่ต่ำกว่า 10 วันโดยเปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 % 
อ๊อกโซซิลิคแอซิด ให้กิน 5 มก.ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ต่อวัน ให้ติดต่อกัน 10 วัน หรือ ใส่ในน้ำอัตราส่วน 1 มกต่อน้ำ 1 ลิตร ติดต่อกันนาน 7 วัน โดยเปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 % 
อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %ยาในกลุ่มเตตร้าอย่าใส่เกลือร่วมเนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลงครับ 
สเตรปโตมัยซิน  ให้กิน อัตรา 50 -80 มก.ต่อน้ำหนักปลา 1 กก. ต่อวัน ติดต่อกัน 7 วัน

 

โรคที่เกิดจากเชื้อไมโครแบคทีเรียม  (Mycobacteriosis)
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม  Mycrobacterium sp.แกรมบวก โดยเฉพาะ M. marinum(สาเหตุของโรคของปลาในเขตน้ำกร่อย), M. fortuitum(พบว่าเป็นสาเหตุใหญ่ของการติดเชื้อในปลาน้ำจืดเขตร้อน), and M. chelonae(พบว่าเป็นสาเหตุของการเป็นโรคของปลาในโรงเพาะฟักปลาแซลมอน)
ไมโครแบคmycro
อาการของโรค  ผิวหนังของปลาเกิดการอักเสบ  อาจพบอาการตาโปนและการกัดกร่อนของเนื้อเยื่อร่วมด้วย การติดเชื้อภายในพบตุ่มอักเสบตามอวัยวะภายในเช่น ตับ ม้าม หัวใจ 
การรักษาโรคในปลาสวยงาม
สเตรปโตมัยซิน  ให้กิน อัตรา 50 -80 มก.ต่อน้ำหนักปลา 1 กก. ต่อวัน ติดต่อกัน 7 วัน
เตตร้าไซคลิน     250 มก./5 ลิตร. ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %ยาในกลุ่มเตตร้าอย่าใส่เกลือร่วมเนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลงครับ 

 

โรคที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส (Streptococcicosis)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Streptococcus
stepstep
อาการของโรค   มักพบการติดเชื้อที่ส่งผลไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีผลต่อการทรงตัวของปลา รวมถึงการว่ายน้ำที่ผิดปกติ   ในลูกตาพบอาการช้ำเลือด แต่ก็ไม่ใช่กับปลาทุกชนิดที่จะมีอาการทางตานะครับ มีอาการช้ำเลือดที่ปากรวมทั้ง พบอาการกัดแหว่งของอวัยวะส่วนครีบ เช่นครีบหาง ครีบก้น  
การรักษาโรคในปลาสวยงาม
อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %ยาในกลุ่มเตตร้าอย่าใส่เกลือร่วมเนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลงครับ 

โรคที่เกิดจากเชื้อวิบริโอ (Vibriosis)
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม  Vibrio  ssp. เช่น Vibrio anguillarum แกรมลบ
vibriovibrio
อาการของโรค
โดยมากสามารถติดเชื้อได้ทั้งทางผิวหนังและทางกระแสเลือด เชื้อสามารถเข้าไปทำลายอวัยวะภายในโดยเฉพาะลำไส้ส่งผลให้สัตว์น้ำเบื่ออาหาร  ผิวหนังมีจ้ำเลือด และมีการอักเสบเป็นวงกว้าง   หากเป็นการติดเชื้อในกุ้งวัยอ่อนจะพบว่าตัวลูกกุ้งมีการเรืองแสงในตอนกลางคืน และเป็นสาเหตุของการตายแบบ ยกบ่อ
การรักษาโรคในปลาสวยงาม
คลอแรมฟินิคอล (250 มิลลิกรัม/20 ลิตร.)  ใส่ในน้ำการใส่ยารักษา ใส่ติดต่อกันนาน ไม่ต่ำกว่า 10 วันโดยเปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 % 
อ๊อกโซซิลิคแอซิด ให้กิน 5 มก.ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ต่อวัน ให้ติดต่อกัน 10 วัน หรือ ใส่ในน้ำอัตราส่วน 1 มกต่อน้ำ 1 ลิตร ติดต่อกันนาน 7 วัน โดยเปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 % 
อ๊อกซิเตตร้าไซคลิน (250 มก./5 ลิตร). ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 10 วัน เปลี่ยนยาใหม่ทุก วันพร้อมกับถ่ายน้ำออก 50 %ยาในกลุ่มเตตร้าอย่าใส่เกลือร่วมเนื่องจากจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลงครับ 
สเตรปโตมัยซิน  ให้กิน อัตรา 50 -80 มก.ต่อน้ำหนักปลา 1 กก. ต่อวัน ติดต่อกัน 7 วัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ณัฎฐา วิศิษฎ์วิทยากร."ยาต้านจุลชีพกับการป้องกันโรคสัตว์น้ำ".วารสารศูนย์บริการวิชาการ

ข้อมูลเรื่องโรคจาก http://wiki.infopez.com/index.php/Gu%C3%ADa_de_enfermedades_y_tratamientos

ข้อมูลเรื่องโรคจาก http://www.petfish.net

ข้อมูลเรื่องโรคจาก http://badmanstropicalfish.com

ข้อมูลเรื่องโรคจาก http://www.uaex.edu/aquaculture2/FSA/FSA9050.htm

และสุดท้ายข้อมูลด้านยาจากhttp://www.pets-warehouse.com/Fishmed3.htm

 

ผู้ดูแลหวังว่าท่านจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ

 


webdesign in 20/11/2551 by Timeforest